
วันเป็งปุ๊ด (เพ็ญพุธ) (วันพุธขึ้น 15 ค่ำ)
ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนของชาวไทยทางเหนือ และชาวไทยเชื้อสายมอญ
พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม เป็นที่รู้จักกันดีว่าศักดิ์สิทธิ์มากในด้านปราบมาร ขจัดอุปสรรค และโชคลาภ โดยเฉพาะวันเพ็ญพุธ หรือ วันเป็งปุ๊ด ตามสำเนียงชาวเหนือ คือวันพุธที่ตรงกับคืนเดือนเพ็ญ
ซึ่งในวันนี้ผู้คนเชื่อกันมาแต่โบราณว่า เป็นวันที่พระอุปคุตจะขึ้นมาจากสะดือทะเลเพื่อมาบิณฑบาตรโปรดผู้คนให้ได้สร้างบุญกุศล และพิทักษ์พระพุทธศาสนาจนครบ 5,000 ปี ซึ่งชาวล้านนามีประเพณีการตักบาตรเป็งปุ๊ด โดยทั่งไปทางล้านนานิยมไหว้กันช่วงก่อนเที่ยงคืนของวันพุธ เพื่อความเป็นสิริมงคลในวันนี้ และเชื่อกันว่าหากใครได้ใส่บาตรท่านก็จะได้บุญกุศลมากและสมปรารถนา เพราะพระอุปคุตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก สามารถดลบันดาลโชคลาภให้ผู้นั้นได้สำเร็จสมหวังโดยไว ถือเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งกับชีวิต

ประวัติพระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม
พระอุปคุตหรืออีกชื่อคือ พระอุปคุปต์ เป็นพระภิกษุองค์สำคัญองค์หนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และเป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายสรวาสติวาท ซึ่งชื่อ “อุปคุต” มีความหมายว่า ผู้คุ้มครองรักษา
พระอุปคุตเป็นพระที่เป็นที่นิยมนับถือของชาวอินเดีย มอญ และชาวไทยวน และอีสาน เชื่อกันว่า พระอุปคุตมีอิทธิฤทธิ์ปราบท้าววสวัตตี มีเรื่องเล่ามาว่าประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัฏนา ภาคใต้ของประเทศอินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่พระองค์สร้างอย่างยิ่งใหญ่ ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน
แต่ถูกพญามารมาผจญ ท่านจึงนิมนต์พระอุปคุตไปปราบพญามารจนยอมแพ้ จากนั้นพระอุปคุตก็มีชื่อเสียงในทางปราบมาร ท่านมีอีกชื่อว่า “พระบัวเข็ม”
ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวไทยวนว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวไทยเชื้อสายล้านาจะเรียกว่าเป็น “วันเป็งปุ๊ด” พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น




อานิสงส์การบูชาพระอุปคุต
1. จะเป็นสิริมงคลชุ่มเย็นตลอด
2. ป้องกันภัยพิบัติและแคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆและอุบัติเหตุทั้งหลาย
3. เป็นผู้ชนะมารและศัตรูที่จะมาปองร้ายเราทั้ง 10 ทิศ
4. เป็นผู้มีอำนาจวาสนาดี ไม่มีใครข่มเหงรังแก
5. เป็นที่เคารพนับถือและเป็นที่เกรงใจของมนุษย์ และอมนุษย์ทั้งหลาย
6. เป็นผู้กินไม่หมด มีโชคลาภอยู่ตลอด เหมือนพระอุปคุตล้วงบาตร
7. จิตใจจะตั้งมั่นอยู่ในครรลองคลองธรรม ไม่พาตนไปตกต่ำในทางที่ชั่ว

ของบูชา
– พระพุทธรูปพระอุปคุต (ไม่มีไม่เป็นไร)
– ธูป 3 ดอก เทียน 1 คู่
– ดอกไม้สีขาวถวายพระอุปคุต
– ผลไม้ตามเหมาะสม
– ภาชนะใส่น่ำมนต์ ลอยดอกไม้ขาวนิดหน่อย ขมิ้นใส่ส้มป่อยนิดหน่อย (ถ้ามี) ใส่น้ำอบจะดีมาก
– น้ำผึ้ง 1 ถ้วย
– ข้าวสวย 1 ถ้วย (ถ้ามีจะดีมาก)
– อาหารแห้งสำหรับใส่บาตรพระในรุ่งเช้า (มีจะดีมาก)
จัดวางให้สวยงาม ตามความเหมาะสมของสถานที่
จุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ ตั้งน้ำมนต์ หรือตามความพร้อม
สวดพระคาถาบูชาพระมหาอุปคุตเถระ
คาถาแบบล้านนาฉบับเต็มไว้สวดอัญเชิญ เป็นฉบับยาว แบบสำนวนโวหารของครูบาอิน
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
(3 จบ)
สังโฆวิสุทโธวรทักขิเณยโยสันติทริโยสัพพะมะสัปปะหิโนคุเณหิเนเกหิ สมิทธิปัตโตอนาสะโวตังปะณะมิสังฆังฯ
ติโยชะโนโลหะมะยัง ปาสาเทโยชีวิโตวรทักขิณะสาคุระมัชเฌอุปะคุตโตนะเมโย อุปะคุตโตมหาเถโร
อันว่าพระมหาอุปคุตเถรเจ้าต๋นใดอระหันตั๋ง อันเป๋นอะระหันต๋าต๋นประเสริฐทักขิณะสาคะระมัชเฌฐิโต๋อันตั้งอยุ่ในท่ามกล๋างพื้นน้ำมหาสมุทรล้ำใต้โลหะปะสาทะมะยังในปราสาทอันแล้วด้วยทองแดงติโยชุนุพเพโธอันสูงได้ 3โยชน์ ชีวิโต๋ตราบอันได้เถิงนิพพานโสอุปคุตโตอันว่าพระมหาอุปคุตเจ้าต๋นเป๋นอะระหันต๋าต๋นประเสริฐนั้นนะมามิผู้ข้าก็ไหว้ด้วยคาบยำแยงในก๋าละบัดนี้และฯ
โอกาสะภันเต๋ ข้อแด่พระมหาอุปคุตเถรเจ้าต๋นประเสริฐต๋นล้ำเลิศเป็นอรหันต๋าเจ้ากูย่อมมีอิทธิฤทธีอันองอาจอันพระพุทธเจ้าหากตำนายไว้หื้อรักษาศาสนาตราบห้าพันพระวัสสาเพื่อบ่หื้อเป๋นอันตรายภัยแก่นรานระฝูงมักป่ำเป็งบุญกริยาอันยิ่งด้วยฤทธีแห่งเจ้ากูเตียนย่อมผะจ๋ญแป๊ยังมาระ สมณะศรัทธาแลมูลละศรัทธาผู้ข้าน้อยตั๋งหลาย
จุต๋นจุองค์ จุผู้จุคนๆ นั้นจุ่งจักมีเตี่ยงแต้ดีหลี
ด้วยดั่งผู้น้อยจักขอสมมาคารวะด้วยนัยยะแห่งกถาบาลีว่า
สาธุ สาธุ สาธุ อัจจโยโน เม ภันเต อัชฌะคะมายะถาพะเล ยะถามูฬะเห ยะถาอะกุสะเล เยมะยัง มหาอุปคุตตัง ตะเยสุ อะตีตวา ปัจจุปันเนวา อะวิวา ยะทิวา ระโหวา กาเยนะวา วาจายะวา มะนะสาวา ปะมาทังวา มัคคาริ มะหาอะการะวังวา ชนิมหา อัปปะมาหัง อะกะริมหาเต สังโนภันเต อัจจะยัง อัจจยะโต ปฏิคัณหาตุ อายะติง สังวะรายะ อายะติง สังวะริสสามิ นะปุณเณวัง ปฏิกะริสสามิ สา สัจจะ คุรุ คารวะ มหาปัญญา มหากุสละ เจตนา อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ยาวะนิปปานะ สังวะทันตุโน
อันตรายนานาต่างๆอันจักมาปรากฎบังเกิดหื้อเดือดเนื้อร้อนใจ๋ขอจุ่งหื้อร่ำงับกลับหายไปจุ๊เยื่องจุ๊ประก๋านขอเจ้ากู่ต๋นประเสริฐจุ่งมาห้ามหะป๊ะเปิ๊กเสียมาระปักขะมารอันจักมาผ่าสูญก๋วนเก๋ากระทำหื้อเป๋นฝนร้ายลมร้ายไฟร้ายสัตว์ร้ายและสัพพะสิ่งอันบดีตังมวลแล้วขอหื้อ บรมวลไปด้วยความสุขสวัสดีมีชัยชนะปราปแป๊ข้าเศิกสัตรูหมู่มารหาญร้ายตังมวลด้วยเต๋จ๊ะศีลบุญคุณแห่งพระอรหันต๋าต๋นวิเศษเตี่ยงแต๊ดีหลีฯ
มะยัง ภันเต อิมานิ ธุปะปุปผาลาชา นิมันตนากถังอุปะคุตตะเถรัง ยาจามะ อนุกัปปัง อุปาทายะ ปฏิคัณหันตุ โน อุปะคุตโต มหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยะกเต มารัญ จะ มาระ พะลัญจ ทัมมิ สะเต อนาเต อุปะคุตตะ มหิทธิกัง ยัง ยัง อุปัททัง ชาตัง วิธัง เสฏฐัง อุปะคุตตะ ตินาเมนะ พุทโธ หิ พุทธเตเชนะ อันตะรายัง อเสสะโต ธัมโมหิ ธัมมเตเชนะ อันตะรายัง อเสสะโต สังโฆหิ สังฆะเตเชนะ อันตะรายัง อเสสะโตฯ
คาถาบูชาพระมหาอุปคุตเถระ
อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต
มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร
นะมัสสิตตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ
อุปะคุตตัง จะ มะหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง
ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุ
คาถาขอลาภพระอุปคุต
มะหาอุปะคุตโต จะ มะหาลาโภ พุทโธลาภัง
สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง
นะโม โจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ
สะเทวะกัง สะพรหม มะกัง มนุสสานัง
สัพพาะลาภัง ภะวันตุ เมฯ
เอหิจิตติจิตตัง พันธะนัง อุปะคุตโต จะ มหาเถโร
พุทธะสาวะ กะอานุภาเวนะ มาระวิชะยะ
เตชะปุณณะตา จะ เทวะตานัมปิ
มะนุสสานัมปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ
อิมัง กายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิส สุตัง อุปัจสะอิ
คาถาพระอุปคุตผูกมาร
มหาอุปะคุตโต มหาอุปะคุตตัง กายะพันทะนัง
มยิสะ พุทธังทะเถโร ธัมมังทะเถโร สังฆังทะเถโร
ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ อิมังกายะ พันทะนัง อะทิถามิฯ
คาถาบูชาบัวเข็ม
จิตติ จิตติ ริตติ ริตติ มิตติ เอหิ มะมะ ปะทุมะพุธโธ
นานา ปารมีสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
มะอะอุเมตตา จะ มหาราชา สัพพะสิเนหา จะ ปูชิตา
สัพพะสุขัง มหาลาภัง สัพพะทุกขัง สัพพะโกธัง
วินัสสันติ อะหัง วันทามิ สัพพะทา
คำถวายข้าวพระอุปคุต
อิมัง โอทะนะปิณฑะทานัง มะหาอุปะคุตเถรัง
สักกัจจัง เทมะ ปูเชมะ ทุติยัมปิ อิมัง โอทะนะปัณฑะทานัง
มะหาอุปะคุตเถรัง สักกัจจัง เทมะ ปูเชมะ
ตะติยัมปิ อิมัง โอทะ นะปัณฑะทานัง มะหาอุปะคุตเถรัง
สักกัจจัง เทมะ ปูเชมะ ฑีฆะรัตตัง อัตถายะ หิตายะ สุขายะ
ยาวะนิพพานนายะ สังวัตตันตุ โนฯ
น้ำน้ำมนต์รดสรง
จากนั้นถ้ามีพระพุทธรูปพระอุปคุตให้น้ำน้ำมนต์รดสรงที่พระพุทธรูป แล้วค่อยอธิษฐานขอนำน้ำมนต์รดพรมตัวและที่อยู่อาศัยครับ เวลาอธิษฐานขอพรให้เน้นขอพรไปในเรื่องความสุขสงบร่มเย็น การอยู่เย็นเป็นสุข ความอุดมสมบูรณ์ และการชนะมารชนะศัตรูทุกทิศ (รวมถึงการทวงหนี้สินด้วย) ส่วนใครที่ถวายอาหารแห้งพอธูปเทียนดับทั้งหมด ก็ให้ลาออกมาแล้วรุ่งเช้าก็นำไปใส่บาตรถวายพระ
Reference :
อาจารย์หมอ กายทิพย์ สรัสวดีมณฑล
wikipedia.org
หมื่นเทพเทวะ
You must be logged in to post a comment.