SPECTROSYNTHESIS II Exposure of Tolerance “สนทนาสัปตสนธิ ๒ ” นิทรรศการ LGBTQ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย

สนทนาสัปตสนธิ ๒

ไตร่ถาม: ความหลากหลายในอุษาคเนย์
นิทรรศการศิลปะ LGBTQ ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย จัดแสดงนิทรรศการรวบรวมกว่า 50 ศิลปินจาก 15 ประเทศและเขตบริหารพิเศษ

  • หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครและมูลนิธิซันไพรด์ร่วมเปิดนิทรรศการใหญ่ พร้อมการแสดงจากศิลปินหมิง หว่องและอีก 5 ศิลปิน
  • ไฮไลต์ในงาน ได้แก่ ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่เพื่อนิทรรศการนี้ โดยศิลปินชื่อดังอาทิ อริญชย์ รุ่งแจ้ง (ไทย), จักกาย ศิริบุตร (ไทย), บัลเบียร์ ครีชัน (อินเดีย), แอนน์ แซมัท (มาเลเซีย), สมัคร์ กอเซ็ม (ไทย)
  • จ้ดแสดงพร้อมกันคือผลงานเด่นจากศิลปิน อาทิ ดิญ คิว เล (เวียดนาม), ดาวิด เมดาญ่า (ฟิลิปปินส์), ดัน หว่อ (เวียดนาม) และอีกหลายศิลปิน

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับมูลนิธิซันไพรด์ จัดงานเปิดนิทรรศการ สนทนาสัปตสนธิ ๒ – ไตร่ถาม: ความหลากหลายในอุษาคเนย์ (SPECTROSYNTHESIS II– Exposure of Tolerance: LGBTQ in Southeast Asia) ซึ่งจะเปิดให้เข้าชม ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 นี้ นิทรรศการดังกล่าวจะเป็นแหล่งรวมศิลปะร่วมสมัยที่ใหญ่ที่สุดจากกว่า 50 ศิลปิน ซึ่งสะท้อนประเด็นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ – Lesbian Gay Bisexual Transsexual and Queer) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใกล้เคียง งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเดินทางหมุนเวียนโดยมูลนิธิซันไพรด์ โดยจะแวะที่กรุงเทพฯ เป็นจุดที่  2 ต่อเนื่องมาจากนิทรรศการ SPECTROSYNTHESIS – Asian LGBTQ Issues and Art Now อันโด่งดัง ซึ่งเปิดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย (Museum of Contemporary Art) กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน เมื่อปี 2560

จากประเด็นความแตกต่างและหลากหลายทางเพศอาจนำไปสู่ความตึงเครียดในสังคม งานนี้ทีมภัณฑารักษ์ นำโดยคุณฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที จึงได้คัดสรรศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานโดดเด่น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในประเด็นนี้ผ่านศิลปะร่วมสมัย โดยมุ่งเน้นให้เห็นว่าเส้นแบ่งต่าง ๆ กำลังเปลี่ยนไป กรอบเกณฑ์ต่าง ๆ กำลังเปิดกว้างมากขึ้น และคนก็กำลังตั้งคำถามกับค่านิยมและบรรทัดฐานต่างๆ ทางสังคม ในนิทรรศการ ผู้ชมจะได้พบกับผลงานของศิลปินจากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงศิลปินเชื้อสายจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นสองวัฒนธรรมที่มีอิทธิผลอย่างยิ่งต่อภูมิภาคนี้ผ่านการอพยพย้ายถิ่นฐาน สนทนาสัปตสนธิ ๒ จึงแสดงให้เห็นบริบททางสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางเพศ และสะท้อนลักษณะพิเศษของภูมิภาคนี้ที่เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม

“ผลงานศิลปะที่จัดแสดงในนิทรรศการ สนทนาสัปตสนธิ ๒ จะเน้นเรื่องการยอมรับความหลากหลายทางเพศ แต่บทสนทนาเรื่องนี้ไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่ในกลุ่ม LGBTQ  หัวหน้าทีมภัณฑารักษ์ คุณฉัตรวิฉัย พรหมทัตตเวที อธิบาย สิ่งที่ทำให้นิทรรศการนี้ทรงพลังและสำคัญมาก คือ ศิลปินส่วนใหญ่มีประสบการณ์ส่วนตัวหรือไม่ก็รู้สึกร่วมไปกับประเด็นนี้ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น นิทรรศการยังแสดงถึงอิสรภาพที่ศิลปะมอบให้ อิสรภาพที่จะแสดงออกถึงการต่อสู้ของแต่ละคนเพื่อการยอมรับทางเพศ เพื่อให้คนยอมรับว่าเป็นปกติ การต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และการต่อสู้เพื่อให้คนที่ตำแหน่งและสถานะเท่าเทียมกันเคารพกัน

แพทริค ซัน ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิซันไพรด์ กล่าวว่าเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้คุณฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที และทีมมาร่วมงานครั้งนี้ ทีมทำงานกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อคัดสรรศิลปินและผลงานศิลปะชั้นยอดมาจัดแสดงในนิทรรศการ สนทนาสัปตสนธิ ๒ ผมหวังว่านิทรรศการนี้จะส่งเสริมให้เกิดการอภิปรายกันในวงกว้าง และสนับสนุนให้เกิดสังคมที่เท่าเทียมมากขึ้นสำหรับชุมชน LGBTQ และมิตรสหาย

Spectrosynthesis II

ผลงานที่สร้างสรรค์ใหม่เพื่องานนี้

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรม ชนชาติ และความเชื่อที่หลากหลาย ระดับการยอมรับความหลากหลายทางเพศก็แตกต่างกันไปตามแต่ละเมืองและเขตการบริหารพิเศษเช่นกัน ในประเทศไทย ชุมชน LGBTQ ถือว่าได้รับการยอมรับดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย และปัจจุบันก็เริ่มมีการเรียกร้องกฎหมายการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน ถึงกระนั้น กฎเกณฑ์และพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความไม่เท่าเทียมก็มิใช่ไม่มีเสียเลย และอคติเหล่านี้ก็ปรากฏชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสะท้อนประเด็นนี้ จักกาย ศิริบุตร ได้สร้างสรรค์ศิลปะจัดวางขนาดใหญ่ 3 ชิ้น แต่ละชิ้นทำจากผ้าและยาว 2 เมตร เพื่อบันทึกความเจ็บปวดของวัยรุ่น ลวดลายเรขาคณิตใน Quilt Project (2562) ล้อมาจากสามเหลี่ยมสีชมพูที่พรรคนาซีเคยใช้เพื่อระบุตัวและสร้างความอับอายให้แก่ผู้รักเพศเดียวกัน ในบัดนี้ ชุมชนเกย์ได้นำมาเป็นสัญลักษณ์ แสดงถึงความภาคภูมิใจ

อริญชย์ รุ่งแจ้ง ศิลปินตัวแทนประเทศไทยในเทศกาล Venice Biennale ครั้งที่ 55 ได้สร้างวิดีโอแบบติดตั้งจัดวาง 5 จอภายใต้ชื่อ Welcome to My World โดยได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์วัยเด็ก ที่รู้สึกตื่นตาตื่นใจที่ได้พบกับบุคคลแปลงเพศ ผลงานชิ้นนี้จะสะท้อนประเด็นความหลากหลายและการยอมรับทางสังคมอย่างชัดเจน

ศิลปินชาวมาเลเซีย แอนน์ แซมัท ผู้บุกเบิกศิลปะการทอ นำเสนอผลงานชิ้นพิเศษ Conundrum Ka Sorga (To Heaven) (2562) ซึ่งเป็นผลงานชิ้นล่าสุดในชุดผลงานศิลปะอันโด่งดัง ประติมากรรมรวมเพศที่เป็นเอกลักษณ์ของ แซมัททำมาจากสิ่งทอสีรุ้งยาว 3 เมตร จะเผยให้เห็นว่า แซมัท สนใจเรื่อง “รูปร่างในอุดมคติ” และต้องการจะเห็นชุมชน LGBTQ กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งเหมือนนกฟีนิกซ์

ศิลปินชาวอินเดีย บัลเบียร์ ครีชัน ผู้เคยโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสีย ๆ หาย ๆ เพราะสร้างผลงานศิลปะเกี่ยวกับเกย์ จัดแสดงภาพวาด 2 ชิ้นที่แสดงถึงความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการยกเลิกมาตรา 377 ในกฎหมายอินเดียที่กำหนดบทลงโทษสำหรับชายที่มีเพศสัมพันธ์กับคนเพศเดียวกัน

A Stitch in Time ผลงานจัดวางโดยศิลปินชาวฟิลิปปินส์ ดาวิด เมดาญ่า ได้รับแรงบันดาลใจจากความ
ทรงจำส่วนตัวที่บังเอิญพบผ้าเช็ดหน้าผืนหนึ่ง เสมือนเป็นโชคชะตาที่นำให้เขาได้พบกับชายแปลกหน้า ซึ่งต่อมากลายเป็นหนึ่งในคนรักเก่าของศิลปิน ผู้ชมสามารถร่วมสร้างศิลปะแนวทดลองชิ้นนี้ได้ แล้วจะพบว่างานชิ้นนี้ท้าทายบทบาทของผู้สร้าง – ผู้ชมงานศิลปะ และกระตุ้นให้ทบทวนความเชื่อเรื่อง “โชคชะตา” ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่มีวันตายในอารยธรรมมนุษย์ และบนผลงานชิ้นเดียวกันนี้ เหล่าศิลปินที่ร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการ จะได้ฝากรอยเย็บปักไว้ร่วมกัน เป็นการรำลึกถึงเมื่อปี ค.ศ. 1972 เมื่อเหล่าศิลปิน Joseph Beuys, David Hockey, Marcel Duchamp, Gilbert and George และ Yoko Ono ได้ร่วมกันปักผลงานที่จัดแสดงในงาน documenta 5 ซึ่งได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของกลุ่มคนที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งที่ทีมงานตั้งใจนำเสนอในการจัดงานนิทรรศการ สนทนาสัปตสนธิ ๒ ในครั้งนี้

ไฮไลต์ประจำนิทรรศการ

นิทรรศการครั้งนี้ยังจัดแสดงภาพถ่าย 6 ภาพโดย เยิ่น หาง ศิลปินชาวจีนผู้ล่วงลับ เยิ่น หาง เป็นโรคซึมเศร้าและปลิดชีพตนเองไปอย่างน่าเศร้าในปี 2560 ระหว่างที่ผลงานจัดแสดงอยู่ที่สต็อกโฮล์ม ภาพถ่ายของ เยิ่น หาง แสดงออกถึงความเป็นธรรมชาติ ผู้ชมจะได้เห็นนายแบบและนางแบบเปลือย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพื่อนของศิลปินเอง อยู่ในท่วงท่าที่เปิดเผยและดูราวกับเป็นรูปปั้น ภาพถ่ายที่จัดองค์ประกอบอย่างตั้งอกตั้งใจนี้มี     ความงามแบบศิลปะเหนือจริง แต่แม้จะเป็นภาพของร่ายกายในวัยหนุ่มสาว กลับให้ความรู้สึกโดดเดี่ยวและเก็บกด สะท้อนถึงการต่อสู้กับภาวะทางจิตใจของศิลปินเอง ดิญ คิว เล ศิลปินชาวเวียดนาม ได้จัดแสดงผลงานศิลปะ 3 ชิ้น 2 ใน 3 นั้นเป็นผลงานที่ใช้เทคนิคการทอภาพถ่ายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ได้แรงบันดาลใจมาจากเทคนิคการทอพรมจากเส้นใยแบบดั้งเดิม ส่วนผลงานชิ้นที่ 3 เป็นประติมากรรมสูง 5 เมตร เป็นภาพที่โดนยืดและบิดเบี้ยวจนกลายเป็นม้วนกระดาษขนาดใหญ่เกินจริง แขวนลงมาจากเพดาน ภาพถ่ายที่ใช้มาจากหลากหลายแหล่ง สะท้อนถึงความรู้สึกภายในของศิลปิน และชวนให้คิดว่าการเซนเซอร์ภาพทำให้เกิดอคติต่อมุมมองและการรับรู้เรื่องอัตลักษณ์ประจำชาติอย่างไร

ผลงานรูปปั้นWe The People (detail) (2011–2016) ของศิลปินชาวเวียดนาม ตัน หว่อ จำลองสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพอย่างเทพีเสรีภาพ ขนาดเท่าของจริง แต่แยกชิ้นส่วนเป็นกว่า 300 ชิ้น กระจายไปตั้งหลายจุด ผลงานชิ้นนี้จะท้าทายการรับรู้ของผู้ชม และย้ำเตือนว่าทุกคนควรจะโดนตัดสินด้วยบรรทัดฐานเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพส่วนบุคคล

กิจกรรมประกอบนิทรรศการ

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครและมูลนิธิซันไพรด์มุ่งมั่นที่จะให้ความรู้ต่อสาธารณะเกี่ยวกับ LGBTQ และส่งเสริมให้เกิดการอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ผ่านศิลปะ ในงานนี้ นอกจากชิ้นงานศิลปะจำนวนมากแล้ว ยังมีกิจกรรมประกอบนิทรรศการอีกหลายรายการ เริ่มจากวันเปิดนิทรรศการวันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2562 จะมีกิจกรรมเสวนาสองรอบ นำโดยภัณฑารักษ์คุณฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที เชื้อเชิญศิลปินมาร่วมบนเวทีเสวนาเกี่ยวกับ LGBTQ และบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละประเทศของศิลปิน และในวันที่ 18 มกราคม 2563 ขอเชิญชมการแข่งขันเต้น Waack & Vogue ที่สนุกสนานและตื่นตาตื่นใจในงานเต้น Spectro Dance Battle และสำหรับผู้ชมที่ต้องการเข้าใจศิลปะที่จัดแสดงอย่างลึกซึ้ง สามารถเข้าร่วมกิจกรรมนำชมพร้อมบรรยายพิเศษได้ตลอดนิทรรศการ พร้อมชมสูจิบัตรผลงานได้อีกด้วย (มีจัดจำหน่าย)

1 Angkrit AJCHARIYASOPHON (Thailand)
2 Anuwat APIMUKMONGKON (Thailand)
3 Cindy AQUINO (Philippines)
4 Jef CARNAY (Philippines)
5 Christopher CHEUNG (Hong Kong)
6 CHOV Theanly (Cambodia)
7 Dua (Malaysia)
8 Jes FAN (Hong Kong)
9 Sunil GUPTA (India)
10 Adam HAGUE (Brunei)
11 HSI Shih-Pin (Taiwan)
12 Krissadank INTASORN (Thailand)
13 Rita KHIN (Myanmar)
14 Samak KOSEM (Thailand)
15 Piriya KRAIRIKSH (Thailand)
16 Balbir KRISHAN (India)
17 Parinot KUNAKORNWONG (Thailand)
18 Dinh Q. LÊ (Vietnam)
19 Lyno VUTH (Cambodia)
20 David MEDALLA (Philippines)
21 Kitti NAROD (Thailand)
22 Ramesh Mario NITHIYENDRAN (Sri Lanka)
23 Jimmy ONG (Singapore)
24 Sornrapat PATHARAKORN (Thailand)
25 Be Takerng PATTANOPAS (Thailand)
26 Ohm PHANPHIROJ (Thailand)
27 Yoppy PIETER (Indonesia)
28 Piyarat PIYAPONGWIWAT (Thailand)
29 Sornchai PHONGSA (Thailand)
30 Adisak PHUPA (Thailand)
31 Christina QUISUMBING RAMILO (Philippines)
32 Khairullah RAHIM (Singapore)
33 REN Hang (Mainland China)
34 Arin RUNGJANG (Thailand)
35 Anne SAMAT (Malaysia)
36 Naraphat SAKARTHORNSAP (Thailand)
37 Nuntanut SAOWAROS (Thailand)
38 Michael SHAOWANASAI (Thailand)
39 Vasan SITTHIKET (Thailand)
40 Maitree SIRIBOON (Thailand)
41 Jakkai SIRIBUTR (Thailand)
42 Arunothai SOMSAKUL (Thailand)
43 SU Hui-Yu (Taiwan)
44 Ho TAM (Hong Kong)
45 Maria TANIGUCHI (Philippines)
46 Sudaporn TEJA (Thailand)
47 TRUONG Tan (Vietnam)
48 TSENG Chien-Ying (Taiwan)
49 Danh VŌ (Vietnam)
50 WANG Haiyang (Mainland China)
51 Martin WONG (USA)
52 Ming WONG (Singapore)
53 Jam WU (Taiwan)
54 Jun-Jieh WANG (Taiwan)
55 Lionel WENDT (Sri Lanka)
56 Xiyadie (Mainland China)
57 YAN Xing (Mainland China)
58 Samson YOUNG (Hong Kong)

Spectrosynthesis II Curator

ผู้อำนวยการหอศิลป พีระศรี ระหว่างปี พ.ศ. 2519 – 2531 จัดการแสดงงานของศิลปินหลากหลายกลุ่มและสร้างรายการขอหอศิลป์ที่รวมถึงละครและดนตรี เป็นจุดรวมกิจกรรมศิลปะต่างๆ และร่วมริเริ่มเกิดวาระสถาบันใหม่ เช่น วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (BSO) อดีตเป็นกรรมการบางกอกโอเปร่า

ปี พ.ศ. 2539 เป็นภัณฑารักษ์นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยเวียดนาม Cultural Representation in Transition: New Vietnamese Painting จัดแสดงที่สยามสมาคม  ปี พ.ศ. 2554 นิทรรศการ  “ลีลาของลายใหม่” ศิลปะร่วมสมัย สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส หนึ่งในนิทรรศการของหอศิลปะกรุงเทพฯ ภายใต้นโยบายความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ในปี พ.ศ. 2545 ร่วมรณรงค์จัดตั้งสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม เป็นที่ปรึกษาของกระทรวงฯ และขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการมูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ผลักดันการสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2547 เป็นผู้อำนวยการหอศิลปฯ ในระยะเริ่มแรก ปัจจุบันเป็นกรรมการและเลขานุการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2550 เป็นกรรมการตัดสินงาน Asia-Pacific Heritage Awards, UNESCO และเป็นผู้ร่วมเซ็นปฏิญญา UNESCO’s Hoi An Declaration on Conservation of Historic Districts of Asia ในอดีตเป็นคณะกรรมการของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบันเป็นกรรมการพิทักษ์มรดกสยาม สยามสมาคมฯ

ปี พ.ศ. 2555 อยู่ในคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขาฯโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองและหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร โดยปรับปรุงใช้อาคารศาลาว่าการกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน และเป็นประธานคณะทำงานอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร

ปี พ.ศ. 2560 นิทรรศการ “ดิน-น้ำ-ป่า-ฟ้า” แรงบันดาลใจจากพ่อ น้อมรำลึก องค์อัครศิลปิน รัชกาลที่ 9 และมีผลงานออกแบบ ฉากละครภูเก็ตแฟนตาซี สยามนิรมิตกรุงเทพและภูเก็ต ออกแบบภายในโรงแรมดุสิตธานี ดุสิตลากูน่า ดุสิตรีสอร์ท และปี พ.ศ. 2561 เป็นนายกสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE)

Chatvichai was Director of the Bhirasri Institute of Modern Art between 1976 to 1988, during which he oversaw the showing of some one hundred exhibitions and as well a programme of contemporary theatre and music. Of note was the Bangkok Symphony Orchestra coming into being at the BIMA, for which he was a founding member; he also has been on the Board of the Bangkok Opera. In 2002 Chatvichai was one of the key figures in the setting up of the Office of Contemporary Art and Culture (OCAC) to be part of Thailand’s new Ministry of Culture, when he was then appointed Advisor to the Ministry of Culture. He went on to become Director of the Bangkok Art and Culture Foundation which spearheaded the establishment of the Bangkok Art and Culture Centre, and in 2008 he took the post of Acting Director of this institution. He is now on the BACC Board and its Secretary, further pioneering for infrastructural work for the arts such as rallying the participation of the Artists Network in the writing of the cultural content in Thailand’s recently promulgated Constitution.

As an Advisor to the Bangkok Governor in 2012, Chatvichai started putting together the City of Bangkok’s new project: the conversion of the present City Hall to become the Bangkok City Museum and Library. For the City’s Planning Department, he chaired the Committee for the Development and Conservation of Rattanakosin Adjacent Area. Chatvichai has been on the judging panel of UNESCO’s Asia-Pacific Heritage Awards. He was cosignatory to UNESCO’s Hoi An Declaration on Conservation of Historic Districts of Asia, 2003. He has been a Council Member of the Siam Society and now on its Siamese Heritage Trust Stirring Committee. He is Chair of the Society for the Conservation of National Treasure and Environment, SCONTE.

His curatorial works include an exhibition surveying the works of Southern Thai artists, many of whom are Thai-Muslim – Emerging Patterns: Contemporary Art of Songkhla, Pattani, Yala, Narathiwat (2011). His championing of cultural diversity on the policy level at the BACC led to other regional-themed exhibitions: Chiang Mai Now, and Common Exercises: Isan Contemporary Report. For the Siam Society he curated the exhibition Cultural Representation in Transition: New Vietnamese Painting (1996). His most recent curatorial work is the exhibition Earth Water Forest Air – the Royal Inspiration, one of BACC’s Commemorative Exhibitions in 2017 for the late Thai King Rama IX and inspired by the monarch’s concern for the environmental issues. Chatvichai’s cultural-diversity interest extends to his designs for the theatre: The Siamniramit showcasing the Thailand’s richness in cultural diversity, and in the set design for Phuket Fantasea. Chatvichai’s designs for public interiors are also culturally inspired, especially for the DusitThani Group as in the DusitThani, Dusit Laguna, and the Dusit Resort, Pattaya. 


งานศิลปินไทย (Thai Artists)


เกี่ยวกับนิทรรศการ

สนทนาสัปตสนธิ ๒
ไตร่ถาม: ความหลากหลายในอุษาคเนย์
SPECTROSYNTHESIS II – Exposure of Tolerance: LGBTQ in Southeast Asia

จัดแสดง: 23 พฤศจิกายน 2562 –1 มีนาคม 2563
เวลาเปิดทำการ: 10:00– 21:00 (ยกเว้นวันจันทร์)          
สถานที่: ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7- 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
939 ถนนพระราม 1 วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

*** เข้าชมฟรี ***

ภาพและข้อมูลทั้งหมดจาก Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร